พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ในการวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า
วันนี้ (23 ตุลาคม 2567) เวลา 08.50 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ในการวางพวงมาลาถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายศุภมิตร ชิณศรี
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ทวีศักดิ์ โสมาภา ประธานกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า และ พลเรือตรี รัชยศ รัชตรุ่งโรจน์กุล ผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ เข้าร่วมพิธี
วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทย พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น “วันปิยมหาราช” โดยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งราชการและภาคเอกชน จะพร้อมใจกันประกอบพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีการจัดพิธีเป็นส่วนกลางที่ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพระราชวังดุสิต
ป้อมพระจุลจอมเกล้า หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “ป้อมพระจุลฯ” เป็นป้อมปราการทางน้ำ ตั้งอยู่ที่ ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สร้างขึ้นเมื่อใด ไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าสร้างขึ้นในราวเดือน มีนาคม พ.ศ.2427 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อป้องกันการรุกรานจากอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม หากมีเรือรบของข้าศึกบุกเข้ามาทางปากน้ำ ป้อมแห่งนี้สร้างเป็นป้อมปืนใหญ่แบบตะวันตก และได้ติดตั้งปืนใหญ่อาร์มสตรอง 152/32 มม. (6 นิ้ว) จำนวน 7 กระบอก เป็นอาวุธหลักของป้อม ทำให้ป้อมนี้เป็นป้อมปราการของสยามที่ทันสมัยมากที่สุดในเวลานั้น
ป้อมพระจุลจอมเกล้า นอกจากจะเป็นป้อมที่พระองค์ทรงดำริให้สร้างขึ้นแล้ว พระองค์ยังได้ทรงมาทดลองยิงปืนเสือหมอบด้วยพระองค์เอง ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 อีกทั้งยังใช้ยิงต่อสู้กับเรือรบฝรั่งเศส
ในวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 โดยมี พลเรือตรี พระยาชลยุทธโยธินทร์ เป็นผู้อำนวยการป้องกันปากแม่น้ำเจ้าพระยา
ปัจจุบัน ป้อมพระจุลจอมเกล้าขึ้นตรงกับฐานทัพเรือกรุงเทพ และได้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ.2536 เพื่อเป็นราชานุสรณ์และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่เปรียบมิได้ และกองทัพเรือ ได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนเข้าชมด้วย ป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรปราการ
กองประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
วันนี้ (23 ตุลาคม 2567) เวลา 08.50 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ในการวางพวงมาลาถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายศุภมิตร ชิณศรี
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ทวีศักดิ์ โสมาภา ประธานกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า และ พลเรือตรี รัชยศ รัชตรุ่งโรจน์กุล ผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ เข้าร่วมพิธี
วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทย พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น “วันปิยมหาราช” โดยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งราชการและภาคเอกชน จะพร้อมใจกันประกอบพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีการจัดพิธีเป็นส่วนกลางที่ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพระราชวังดุสิต
ป้อมพระจุลจอมเกล้า หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “ป้อมพระจุลฯ” เป็นป้อมปราการทางน้ำ ตั้งอยู่ที่ ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สร้างขึ้นเมื่อใด ไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าสร้างขึ้นในราวเดือน มีนาคม พ.ศ.2427 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อป้องกันการรุกรานจากอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม หากมีเรือรบของข้าศึกบุกเข้ามาทางปากน้ำ ป้อมแห่งนี้สร้างเป็นป้อมปืนใหญ่แบบตะวันตก และได้ติดตั้งปืนใหญ่อาร์มสตรอง 152/32 มม. (6 นิ้ว) จำนวน 7 กระบอก เป็นอาวุธหลักของป้อม ทำให้ป้อมนี้เป็นป้อมปราการของสยามที่ทันสมัยมากที่สุดในเวลานั้น
ป้อมพระจุลจอมเกล้า นอกจากจะเป็นป้อมที่พระองค์ทรงดำริให้สร้างขึ้นแล้ว พระองค์ยังได้ทรงมาทดลองยิงปืนเสือหมอบด้วยพระองค์เอง ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 อีกทั้งยังใช้ยิงต่อสู้กับเรือรบฝรั่งเศส
ในวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 โดยมี พลเรือตรี พระยาชลยุทธโยธินทร์ เป็นผู้อำนวยการป้องกันปากแม่น้ำเจ้าพระยา
ปัจจุบัน ป้อมพระจุลจอมเกล้าขึ้นตรงกับฐานทัพเรือกรุงเทพ และได้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ.2536 เพื่อเป็นราชานุสรณ์และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่เปรียบมิได้ และกองทัพเรือ ได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนเข้าชมด้วย ป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรปราการ
กองประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ