บทความทางกฎหมาย โดยอัยการวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์ เรื่อง “ พนักงานอัยการ กับ การเรียกพยานมาสอบสวนเอง สังคมได้รับความเป็นธรรม จริงหรือ ? ”
ช่วงนี้...มีข่าวเกี่ยวกับ “องค์กรอัยการ ” ซึ่งเป็นหน่วยงานทางกระบวนการยุติธรรมขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ไม่ว่าจะเป็นข่าว “ปปช. ปปท. ตำรวจ บุกจับ อัยการ คาห้องทำงาน” หรือ “ ข่าวอัยการเก๊ ”
จากเดิมที่ เมื่อ พนักงานอัยการ เห็นว่า สำนวนการสอบสวนที่ได้รับจากพนักงานสอบสวน มีข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะพิจารณาสั่งคดีได้ จึงได้ใช้อำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140 ถึง มาตรา 143 สั่งให้ พนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงให้เพียงพอที่จะ “ สั่งฟ้อง” หรือ “สั่งไม่ฟ้อง” (แล้วแต่กรณี) แต่เมื่อ พนักงานอัยการ สั่งสอบสวนเพิ่มเติมไปแล้ว แต่พนักงานสอบสวนก็ยังคงไม่ได้ส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมมาให้ พนักงานอัยการพิจารณาสั่งคดี จนเวลาล่วงเลยมานานมาก ย่อมส่งผลกระทบต่อ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินคดี โดยเฉพาะคดีที่มีกำหนดเวลาฝากขังผู้ต้องหาต่อศาล และหากครบกำหนดฝากขังต่อศาลครั้งสุดท้าย แล้ว แต่พนักงานสอบสวน ยังไม่ได้จัดส่ง ผลการสอบสวนเพิ่มเติมมาให้พนักงานอัยการ รวมถึง กรณีส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมมาแล้ว แต่ปรากฏว่า พนักงานสอบสวน ยังคงสอบสวนไม่ครบถ้วนตามประเด็นที่พนักงานอัยการได้สั่งสอบสวนเพิ่มเติมไป ทำให้ พนักงานอัยการ ไม่อาจสั่งสำนวนคดีไปได้
การสั่งคดี และการดำเนินคดีที่ยังมีข้อเท็จจริงที่ยังไม่ครบถ้วน :
อาจส่งผลทำให้ ถูกคู่ความฝ่ายตรงข้าม ซักค้าน โต้แย้งได้ และอาจนำไปสู่การถูกศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย และพิพากษา“ยกฟ้อง” ได้ รวมถึงการต้องสั่งปล่อยตัวผู้ต้องหาไปก่อน เนื่องจากยังไม่สามารถพิจารณาสั่งสำนวนคดีได้ และอาจเป็นเหตุให้ไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหามาฟ้องเนื่องจากหลบหนีไปได้
การที่ อัยการสูงสุด ออกหนังสือเวียนฉบับนี้มาซักซ้อมความเข้าใจให้กับ พนักงานอัยการทั่วประเทศ และผู้บริหารของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อเปิดโอกาสให้ “ พนักงานอัยการ” ได้มีหนังสือสั่ง “ ให้พนักงานสอบสวนส่ง พยานคนใด มาให้พนักงานอัยการเพื่อซักถามตามรูปคดี โดยในการซักถามพยานนั้น พนักงานอัยการ จะต้องกระทำร่วมกับ “ หัวหน้าพนักงานอัยการ” หรือ “พนักงานอัยการที่มีอาวุโสถัดจากหัวหน้าพนักงานอัยการ ลงมาตามลำดับ ( เพื่อให้ช่วยควบคุมการสอบสวนให้ถูกต้อง ครบถ้วนในประเด็นแห่งคดี) และ ในกรณีที่ที่พนักงานสอบสวนประสงค์จะขอฟังการชักถามด้วยก็ให้เปิดโอกาสให้ฟังได้ ( เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เกิดความโปร่งใส )
บางครั้งพบว่า พยานบางปาก ไม่กล้า และ/ หรือไม่เชื่อมั่นในพนักงานสอบสวน หากแต่ประสงค์จะให้ข้อมูลและรายละเอียดกับ พนักงานอัยการ มากกว่า
หนังสือเวียนฉบับนี้ จึงเป็นการ ยืนยันว่า พนักงานอัยการ สามารถจะให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน โดยการเร่งรัดการสอบสวน (เพิ่มเติม) ด้วยการ อาจเรียกพยานมาสอบเอง เพื่อให้รวดเร็วและได้ประเด็นครบถ้วน ไม่ต้องสอบแล้ว สอบอีก หรือ พยานได้ให้การไว้แต่พนักงานสอบสวนมิได้บันทึกคำให้การให้ ทั้งอาจจะตั้งใจ และไม่ตั้งใจก็ตาม
ดังนั้น เมื่อ พนักงานอัยการ ได้สอบสวนพยานด้วยตนเอง ก็จะทำให้รับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานถูกต้อง ครบถ้วนและรวดเร็วเท่าใด พนักงานอัยการ ก็สามารถพิจารณาสั่งสำนวนคดีได้เร็วเท่านั้น ไม่ว่าจะ “สั่งฟ้อง” หรือ “สั่งไม่ฟ้อง” ก็แล้วแต่ข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานในสำนวนคดี
“ กระบวนการยุติธรรม ที่ล่าช้า อาจเป็นความไม่ยุติธรรม”
มาถึงบรรทัดนี้ หวังว่า ท่านคงจะทราบแล้วว่า สังคมจะได้อะไรจาก การให้ความเป็นธรรมจาก สำนักงานอัยการสูงสุด ด้วยการ ”เร่งรัดการสอบสวน” ด้วยการ ขอให้พนักงานสอบสวนส่งพยานมาให้ พนักงานอัยการสอบสวนเพิ่มเติม (ซักถามพยาน) เอง ภายใต้การควบคุมและกำกับของ ”หัวหน้าพนักงานอัยการ”
ความจริง... “การสั่งให้ส่งพยานมาเพื่อซักถาม” นั้น ปรากฏอยู่ในระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563ข้อ 35 และข้อ 36 แล้ว
แต่ หนังสือเวียนของสำนักงานอัยการสูงสุด ฉบับนี้จะเป็นการ ตอกย้ำให้เห็นว่า องค์กรอัยการ ยังคงเป็นที่พึ่งแห่งความยุติธรรมให้กับประชาชนได้
ส่วน ”คนไม่ดี” หรือ “ กาฝากอัยการ ” จะต้องถูกกำจัดให้ออกไป
· นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์
อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ
(อดีต) รองประธานคณะอนุกรรมาธิการการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน (คนที่สอง) ในคณะกรรมการธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่ 25)
6 สิงหาคม 2567
ช่วงนี้...มีข่าวเกี่ยวกับ “องค์กรอัยการ ” ซึ่งเป็นหน่วยงานทางกระบวนการยุติธรรมขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ไม่ว่าจะเป็นข่าว “ปปช. ปปท. ตำรวจ บุกจับ อัยการ คาห้องทำงาน” หรือ “ ข่าวอัยการเก๊ ”
ทำให้นึกถึง พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้ง “คนดี”และ “คนไม่ดี” ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังคงทันสมัย และ ใช้ได้อยู่เสมอ
หากเปรียบ “องค์กรตำรวจ” เป็น ต้นทางแห่งสายธารความยุติธรรม
“ องค์กรอัยการ " ก็ถือได้ว่าเป็น “ กลางสายธาร” แห่งกระแสความยุติธรรม
องค์กรอัยการ เป็นองค์กรอันเป็นที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน ปีนี้องค์กรอัยการ ครบรอบ 131 ปี ในวันที่ 1 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา
ทุกองค์กร ย่อมมีทั้ง “คนดี” และ “คนไม่ดี” คนไม่ดีย่อมต้องถูกกำจัดให้สิ้น
มาดูเรื่องดีดี ที่ “องค์กรอัยการ” ภายใต้การนำของ นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ อัยการสูงสุดคนปัจจุบัน ได้ทำให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากการสอบสวน (เพิ่มเติม) โดยทำให้ “ การสอบสวนรวดเร็วขึ้น ได้ประเด็นถูกต้องครบถ้วนมากขึ้น” ไม่ต้องสอบสวนแล้ว สอบสวนอีก หรือ รอแล้ว รอเล่า ยังไม่ได้รับผลการสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวน ซึ่งก็น่าเห็นใจ พนักงานสอบสวน ซึ่งมีภาระงานด้านการสอบสวนมากมาย จำนวนพนักงานสอบสวนไม่สอดคล้องกับปริมาณคดีอาญาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะปัจจุบัน คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี คดีหลอกลวงออนไลน์ เกิดขึ้นและสร้างความเสียหายมากมาย
แต่การดำเนินคดีที่ล่าช้า ( สอบสวนล่าช้า สรุปสำนวนและเอกสารส่งพนักงานอัยการล่าช้า )
“ กระบวนการยุติธรรมที่ล่าช้า ย่อมถือได้ว่า เป็นการไม่ยุติธรรม”
ดังนั้น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567สำนักงานอัยการสูงสุด โดย นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ อัยการสูงสุด ได้ออกหนังสือเวียนสั่งการ ที่ อส 0007(ปผ)/ว 280 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เรื่อง ชักซ้อมแนวทางการพิจารณา สั่งสอบสวนเพิ่มเติม หรือ สั่งให้ส่งพยานมาเพื่อชักถาม
“ กรณีพนักงานสอบสวน สอบสวนล่าช้าส่งผลล่าช้า ให้พนักงานอัยการเรียกตัวพยานมาสอบได้”
หลักการและเหตุผลในการออกหนังสือเวียนสั่งการดังกล่าว
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน “ ด้วยการพัฒนาคุณภาพงานสอบสวนคดีอาญาของพนักงานอัยการ” โดยยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส และไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคมและประชาชน ซึ่งการเร่งรัดสำนวนที่ พนักงานอัยการมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งพยานคนใดมาให้ซักถาม จะทำให้ประชาชนได้รับความยุติธรรม ที่รวดเร็ว ไม่ล่าช้า
ดังนั้น สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การพิจารณาสำนวนคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม สังคมและประชาชนเชื่อมั่น และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงได้ออกหนังสือเวียนสั่งการ ชักซ้อมแนวทางการพิจารณา สั่งสอบสวนเพิ่มเติม หรือ สั่งให้ส่งพยานมา ชักถาม ในกรณีที่ “ พนักงานสอบสวนส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมล่าช้า” หรือ “ ได้ความไม่ชัดแจ้งครบถ้วนตามประเด็นที่พนักงานอัยการสั่งสอบสวนเพิ่มเติม
หากพนักงานอัยการเห็นว่า การสั่งให้ส่งพยานมาเพื่อซักถามตามข้อ 35 และข้อ 36 ของระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563 จะได้ความชัดแจ้งและ รวดเร็วกว่าการสอบสวนเพิ่มเติม ให้พนักงานอัยการมีความเห็นและคำสั่งในแบบ อ.ก. 4 โดยให้ “ หัวหน้าพนักงานอัยการ” เป็นผู้พิจารณาสั่ง
และมีหนังสือสั่ง “ ให้พนักงานสอบสวนส่ง พยานคนใด มาให้ซักถามตามรูปคดี โดยในการซักถามพยาน พนักงานอัยการ จะต้องกระทำร่วมกับ “ หัวหน้าพนักงานอัยการ” หรือ “พนักงานอัยการที่มีอาวุโสถัดจากหัวหน้าพนักงานอัยการ ลงมาตามลำดับ และในกรณีที่ที่พนักงานสอบสวนประสงค์จะขอฟังการชักถามด้วยก็ให้เปิดโอกาสให้ฟังได้ โดยให้พนักงานอัยการผู้ซักถาม บันทึกถ้อยคำของพยาน”ที่ซักถามในแบบ อ.ก. 22 ตามแบบและวิธีการที่บัญญัติไว้...ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 มาตรา 11 และมาตรา 13 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยอนุโลม
ทั้งนี้ พนักงานอัยการต้องดำเนินการในกรณีดังกล่าวด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม
จากหนังสือเวียนสั่งการฉบับดังกล่าว จะเห็นได้ว่า เป็นการแก้ไขปัญหา
“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้ง “คนดี”และ “คนไม่ดี” ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังคงทันสมัย และ ใช้ได้อยู่เสมอ
หากเปรียบ “องค์กรตำรวจ” เป็น ต้นทางแห่งสายธารความยุติธรรม
“ องค์กรอัยการ " ก็ถือได้ว่าเป็น “ กลางสายธาร” แห่งกระแสความยุติธรรม
องค์กรอัยการ เป็นองค์กรอันเป็นที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน ปีนี้องค์กรอัยการ ครบรอบ 131 ปี ในวันที่ 1 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา
ทุกองค์กร ย่อมมีทั้ง “คนดี” และ “คนไม่ดี” คนไม่ดีย่อมต้องถูกกำจัดให้สิ้น
มาดูเรื่องดีดี ที่ “องค์กรอัยการ” ภายใต้การนำของ นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ อัยการสูงสุดคนปัจจุบัน ได้ทำให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากการสอบสวน (เพิ่มเติม) โดยทำให้ “ การสอบสวนรวดเร็วขึ้น ได้ประเด็นถูกต้องครบถ้วนมากขึ้น” ไม่ต้องสอบสวนแล้ว สอบสวนอีก หรือ รอแล้ว รอเล่า ยังไม่ได้รับผลการสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวน ซึ่งก็น่าเห็นใจ พนักงานสอบสวน ซึ่งมีภาระงานด้านการสอบสวนมากมาย จำนวนพนักงานสอบสวนไม่สอดคล้องกับปริมาณคดีอาญาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะปัจจุบัน คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี คดีหลอกลวงออนไลน์ เกิดขึ้นและสร้างความเสียหายมากมาย
แต่การดำเนินคดีที่ล่าช้า ( สอบสวนล่าช้า สรุปสำนวนและเอกสารส่งพนักงานอัยการล่าช้า )
“ กระบวนการยุติธรรมที่ล่าช้า ย่อมถือได้ว่า เป็นการไม่ยุติธรรม”
ดังนั้น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567สำนักงานอัยการสูงสุด โดย นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ อัยการสูงสุด ได้ออกหนังสือเวียนสั่งการ ที่ อส 0007(ปผ)/ว 280 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เรื่อง ชักซ้อมแนวทางการพิจารณา สั่งสอบสวนเพิ่มเติม หรือ สั่งให้ส่งพยานมาเพื่อชักถาม
“ กรณีพนักงานสอบสวน สอบสวนล่าช้าส่งผลล่าช้า ให้พนักงานอัยการเรียกตัวพยานมาสอบได้”
หลักการและเหตุผลในการออกหนังสือเวียนสั่งการดังกล่าว
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน “ ด้วยการพัฒนาคุณภาพงานสอบสวนคดีอาญาของพนักงานอัยการ” โดยยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส และไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคมและประชาชน ซึ่งการเร่งรัดสำนวนที่ พนักงานอัยการมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งพยานคนใดมาให้ซักถาม จะทำให้ประชาชนได้รับความยุติธรรม ที่รวดเร็ว ไม่ล่าช้า
ดังนั้น สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การพิจารณาสำนวนคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม สังคมและประชาชนเชื่อมั่น และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงได้ออกหนังสือเวียนสั่งการ ชักซ้อมแนวทางการพิจารณา สั่งสอบสวนเพิ่มเติม หรือ สั่งให้ส่งพยานมา ชักถาม ในกรณีที่ “ พนักงานสอบสวนส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมล่าช้า” หรือ “ ได้ความไม่ชัดแจ้งครบถ้วนตามประเด็นที่พนักงานอัยการสั่งสอบสวนเพิ่มเติม
หากพนักงานอัยการเห็นว่า การสั่งให้ส่งพยานมาเพื่อซักถามตามข้อ 35 และข้อ 36 ของระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563 จะได้ความชัดแจ้งและ รวดเร็วกว่าการสอบสวนเพิ่มเติม ให้พนักงานอัยการมีความเห็นและคำสั่งในแบบ อ.ก. 4 โดยให้ “ หัวหน้าพนักงานอัยการ” เป็นผู้พิจารณาสั่ง
และมีหนังสือสั่ง “ ให้พนักงานสอบสวนส่ง พยานคนใด มาให้ซักถามตามรูปคดี โดยในการซักถามพยาน พนักงานอัยการ จะต้องกระทำร่วมกับ “ หัวหน้าพนักงานอัยการ” หรือ “พนักงานอัยการที่มีอาวุโสถัดจากหัวหน้าพนักงานอัยการ ลงมาตามลำดับ และในกรณีที่ที่พนักงานสอบสวนประสงค์จะขอฟังการชักถามด้วยก็ให้เปิดโอกาสให้ฟังได้ โดยให้พนักงานอัยการผู้ซักถาม บันทึกถ้อยคำของพยาน”ที่ซักถามในแบบ อ.ก. 22 ตามแบบและวิธีการที่บัญญัติไว้...ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 มาตรา 11 และมาตรา 13 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยอนุโลม
ทั้งนี้ พนักงานอัยการต้องดำเนินการในกรณีดังกล่าวด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม
จากหนังสือเวียนสั่งการฉบับดังกล่าว จะเห็นได้ว่า เป็นการแก้ไขปัญหา
จากเดิมที่ เมื่อ พนักงานอัยการ เห็นว่า สำนวนการสอบสวนที่ได้รับจากพนักงานสอบสวน มีข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะพิจารณาสั่งคดีได้ จึงได้ใช้อำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140 ถึง มาตรา 143 สั่งให้ พนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงให้เพียงพอที่จะ “ สั่งฟ้อง” หรือ “สั่งไม่ฟ้อง” (แล้วแต่กรณี) แต่เมื่อ พนักงานอัยการ สั่งสอบสวนเพิ่มเติมไปแล้ว แต่พนักงานสอบสวนก็ยังคงไม่ได้ส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมมาให้ พนักงานอัยการพิจารณาสั่งคดี จนเวลาล่วงเลยมานานมาก ย่อมส่งผลกระทบต่อ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินคดี โดยเฉพาะคดีที่มีกำหนดเวลาฝากขังผู้ต้องหาต่อศาล และหากครบกำหนดฝากขังต่อศาลครั้งสุดท้าย แล้ว แต่พนักงานสอบสวน ยังไม่ได้จัดส่ง ผลการสอบสวนเพิ่มเติมมาให้พนักงานอัยการ รวมถึง กรณีส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมมาแล้ว แต่ปรากฏว่า พนักงานสอบสวน ยังคงสอบสวนไม่ครบถ้วนตามประเด็นที่พนักงานอัยการได้สั่งสอบสวนเพิ่มเติมไป ทำให้ พนักงานอัยการ ไม่อาจสั่งสำนวนคดีไปได้
การสั่งคดี และการดำเนินคดีที่ยังมีข้อเท็จจริงที่ยังไม่ครบถ้วน :
อาจส่งผลทำให้ ถูกคู่ความฝ่ายตรงข้าม ซักค้าน โต้แย้งได้ และอาจนำไปสู่การถูกศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย และพิพากษา“ยกฟ้อง” ได้ รวมถึงการต้องสั่งปล่อยตัวผู้ต้องหาไปก่อน เนื่องจากยังไม่สามารถพิจารณาสั่งสำนวนคดีได้ และอาจเป็นเหตุให้ไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหามาฟ้องเนื่องจากหลบหนีไปได้
การที่ อัยการสูงสุด ออกหนังสือเวียนฉบับนี้มาซักซ้อมความเข้าใจให้กับ พนักงานอัยการทั่วประเทศ และผู้บริหารของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อเปิดโอกาสให้ “ พนักงานอัยการ” ได้มีหนังสือสั่ง “ ให้พนักงานสอบสวนส่ง พยานคนใด มาให้พนักงานอัยการเพื่อซักถามตามรูปคดี โดยในการซักถามพยานนั้น พนักงานอัยการ จะต้องกระทำร่วมกับ “ หัวหน้าพนักงานอัยการ” หรือ “พนักงานอัยการที่มีอาวุโสถัดจากหัวหน้าพนักงานอัยการ ลงมาตามลำดับ ( เพื่อให้ช่วยควบคุมการสอบสวนให้ถูกต้อง ครบถ้วนในประเด็นแห่งคดี) และ ในกรณีที่ที่พนักงานสอบสวนประสงค์จะขอฟังการชักถามด้วยก็ให้เปิดโอกาสให้ฟังได้ ( เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เกิดความโปร่งใส )
บางครั้งพบว่า พยานบางปาก ไม่กล้า และ/ หรือไม่เชื่อมั่นในพนักงานสอบสวน หากแต่ประสงค์จะให้ข้อมูลและรายละเอียดกับ พนักงานอัยการ มากกว่า
หนังสือเวียนฉบับนี้ จึงเป็นการ ยืนยันว่า พนักงานอัยการ สามารถจะให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน โดยการเร่งรัดการสอบสวน (เพิ่มเติม) ด้วยการ อาจเรียกพยานมาสอบเอง เพื่อให้รวดเร็วและได้ประเด็นครบถ้วน ไม่ต้องสอบแล้ว สอบอีก หรือ พยานได้ให้การไว้แต่พนักงานสอบสวนมิได้บันทึกคำให้การให้ ทั้งอาจจะตั้งใจ และไม่ตั้งใจก็ตาม
ดังนั้น เมื่อ พนักงานอัยการ ได้สอบสวนพยานด้วยตนเอง ก็จะทำให้รับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานถูกต้อง ครบถ้วนและรวดเร็วเท่าใด พนักงานอัยการ ก็สามารถพิจารณาสั่งสำนวนคดีได้เร็วเท่านั้น ไม่ว่าจะ “สั่งฟ้อง” หรือ “สั่งไม่ฟ้อง” ก็แล้วแต่ข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานในสำนวนคดี
“ กระบวนการยุติธรรม ที่ล่าช้า อาจเป็นความไม่ยุติธรรม”
มาถึงบรรทัดนี้ หวังว่า ท่านคงจะทราบแล้วว่า สังคมจะได้อะไรจาก การให้ความเป็นธรรมจาก สำนักงานอัยการสูงสุด ด้วยการ ”เร่งรัดการสอบสวน” ด้วยการ ขอให้พนักงานสอบสวนส่งพยานมาให้ พนักงานอัยการสอบสวนเพิ่มเติม (ซักถามพยาน) เอง ภายใต้การควบคุมและกำกับของ ”หัวหน้าพนักงานอัยการ”
ความจริง... “การสั่งให้ส่งพยานมาเพื่อซักถาม” นั้น ปรากฏอยู่ในระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563ข้อ 35 และข้อ 36 แล้ว
แต่ หนังสือเวียนของสำนักงานอัยการสูงสุด ฉบับนี้จะเป็นการ ตอกย้ำให้เห็นว่า องค์กรอัยการ ยังคงเป็นที่พึ่งแห่งความยุติธรรมให้กับประชาชนได้
ส่วน ”คนไม่ดี” หรือ “ กาฝากอัยการ ” จะต้องถูกกำจัดให้ออกไป
· นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์
อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ
(อดีต) รองประธานคณะอนุกรรมาธิการการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน (คนที่สอง) ในคณะกรรมการธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่ 25)
6 สิงหาคม 2567