ผู้ช่วยทูตกลับถิ่น สานสัมพันธ์ทัพเรือไทยมาเลเซีย แน่นแฟ้น
เมื่อ 2-5 ก.ค.67 คณะผู้แทน ทร. โดยมี พล.ร.ต.เทพฤทธิ์ ลาภเหลือ ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ อดีตผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียและ กำลังพล กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ2 นาย กรมการสื่อสารและสารสนเทศทหารเรือ1 นาย กรมยุทธการทหารเรือ2 นาย เดินทางไปร่วมประชุม Navy to Navy Talks ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้น ณ กองบัญชาการกองเรือดำน้ำ รัฐซาบาร์ ก.บอร์เนียว มาเลเซีย
- ผลการประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นสอดคล้องที่จะเสนอเพื่ออนุมัติในการแลกเปลี่ยนการศึกษาและการฝึกตามแผน การเยี่ยมเยือนและจัดกิจกรรมของ ผู้บังคับบัญชา ประจำปี( golf top ten ) ตามที่ได้ดำเนินการมาต่อเนื่อง นอกจากนี้ ทร.มาเลเซียยังได้เปิดให้เยี่ยมชม กองเรือดำน้ำ และ หน่วยบิน UAV (SCAN EAGLE)ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ตามโครงการ MSI (Maritime Security Initiative) ที่ได้เคยหารือไว้จากการประชุมครั้งที่ผ่านๆมา สรุปการดูงานได้ดังนี้
* การเยี่ยมชมกองเรือดำน้ำ จัดให้ชมทั้งหมดประกอบด้วย
- กองบัญชาการ
- โรงงานซ่อม ด.และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด
- อาคารฝึกกำลังพล
- เครื่องฝึก simulator การดำ
- ห้องฝึกซ่อมบำรุงเครื่องกล ไฟฟ้า แบตเตอรี่
- ห้องฝึกการนำเรือ
- ห้องฝึก ศูนย์ยุทธการ
- อาคารฝึกการช่วยเหลือกำลังพล ด. Submarine escape
- เครื่องฝึกป้องกันความเสียหาย
..ข้อมูลสำคัญ..
# ขณะนี้ ทร.มาเลเซีย สามารถฝึกกำลังพล และซ่อมบำรุง ด. ได้เองทั้งหมดเกือบ100% โดยในระยะแรกสร้างอู่โดยใช้เงินรัฐบาลและจ้างบริษัทฝรั่งเศสดำเนินการซ่อมบำรุง แล้วค่อยๆสร้างบริษัทของมาเลเซียมาทดแทน จนในปัจจุบัน บริษัทของมาเลเซียทดแทนได้ทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 10 ปี มีเพียงการ refit โปรแกรมทุก 7 ปี ที่ยังต้องมีบริษัทฝรั่งเศสช่วยบางส่วน
# โครงสร้างกำลังพลกองเรือ ด. ประมาณ 200 กว่านาย อู่บริษัทเอกชน 200-300 นาย
# ปัญหา ส่วนใหญ่เป็นเรื่องกำลังพล ที่ฝึกไม่ผ่าน หาคนมาอยู่เรือ ด.ยาก ตามนิสัยมีครอบครัวใหญ่และรักครอบครัวของคนมาเลเซีย และต้องมาอยู่ ก.บอร์เนียวไกลบ้าน
* การเยี่ยมชมหน่วยบิน UAV - scan eagle จัดให้ชม
- อุปกรณ์ทั้งหมด
- การควบคุมและใช้งาน
- การซ่อมบำรุง
..ข้อมูลสำคัญ..
# ไม่แตกต่างจาก black jack ใช้จากฐานบินฝั่งเป็นหลัก เพราะอุปกรณ์ปล่อย และเก็บ UAV ใหญ่มาก ไม่สามารถเอาไปกับเรือที่ ทร.มาเลเซียมีได้
# แต่จะพัฒนาหารุ่นใหม่ที่นำไปกับเรือได้ต่อไป
# ใช้ในพื้นที่ ก.บอร์เนียว/ ทะเลจีนใต้เป็นหลัก
เมื่อ 2-5 ก.ค.67 คณะผู้แทน ทร. โดยมี พล.ร.ต.เทพฤทธิ์ ลาภเหลือ ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ อดีตผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียและ กำลังพล กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ2 นาย กรมการสื่อสารและสารสนเทศทหารเรือ1 นาย กรมยุทธการทหารเรือ2 นาย เดินทางไปร่วมประชุม Navy to Navy Talks ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้น ณ กองบัญชาการกองเรือดำน้ำ รัฐซาบาร์ ก.บอร์เนียว มาเลเซีย
- ผลการประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นสอดคล้องที่จะเสนอเพื่ออนุมัติในการแลกเปลี่ยนการศึกษาและการฝึกตามแผน การเยี่ยมเยือนและจัดกิจกรรมของ ผู้บังคับบัญชา ประจำปี( golf top ten ) ตามที่ได้ดำเนินการมาต่อเนื่อง นอกจากนี้ ทร.มาเลเซียยังได้เปิดให้เยี่ยมชม กองเรือดำน้ำ และ หน่วยบิน UAV (SCAN EAGLE)ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ตามโครงการ MSI (Maritime Security Initiative) ที่ได้เคยหารือไว้จากการประชุมครั้งที่ผ่านๆมา สรุปการดูงานได้ดังนี้
* การเยี่ยมชมกองเรือดำน้ำ จัดให้ชมทั้งหมดประกอบด้วย
- กองบัญชาการ
- โรงงานซ่อม ด.และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด
- อาคารฝึกกำลังพล
- เครื่องฝึก simulator การดำ
- ห้องฝึกซ่อมบำรุงเครื่องกล ไฟฟ้า แบตเตอรี่
- ห้องฝึกการนำเรือ
- ห้องฝึก ศูนย์ยุทธการ
- อาคารฝึกการช่วยเหลือกำลังพล ด. Submarine escape
- เครื่องฝึกป้องกันความเสียหาย
..ข้อมูลสำคัญ..
# ขณะนี้ ทร.มาเลเซีย สามารถฝึกกำลังพล และซ่อมบำรุง ด. ได้เองทั้งหมดเกือบ100% โดยในระยะแรกสร้างอู่โดยใช้เงินรัฐบาลและจ้างบริษัทฝรั่งเศสดำเนินการซ่อมบำรุง แล้วค่อยๆสร้างบริษัทของมาเลเซียมาทดแทน จนในปัจจุบัน บริษัทของมาเลเซียทดแทนได้ทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 10 ปี มีเพียงการ refit โปรแกรมทุก 7 ปี ที่ยังต้องมีบริษัทฝรั่งเศสช่วยบางส่วน
# โครงสร้างกำลังพลกองเรือ ด. ประมาณ 200 กว่านาย อู่บริษัทเอกชน 200-300 นาย
# ปัญหา ส่วนใหญ่เป็นเรื่องกำลังพล ที่ฝึกไม่ผ่าน หาคนมาอยู่เรือ ด.ยาก ตามนิสัยมีครอบครัวใหญ่และรักครอบครัวของคนมาเลเซีย และต้องมาอยู่ ก.บอร์เนียวไกลบ้าน
* การเยี่ยมชมหน่วยบิน UAV - scan eagle จัดให้ชม
- อุปกรณ์ทั้งหมด
- การควบคุมและใช้งาน
- การซ่อมบำรุง
..ข้อมูลสำคัญ..
# ไม่แตกต่างจาก black jack ใช้จากฐานบินฝั่งเป็นหลัก เพราะอุปกรณ์ปล่อย และเก็บ UAV ใหญ่มาก ไม่สามารถเอาไปกับเรือที่ ทร.มาเลเซียมีได้
# แต่จะพัฒนาหารุ่นใหม่ที่นำไปกับเรือได้ต่อไป
# ใช้ในพื้นที่ ก.บอร์เนียว/ ทะเลจีนใต้เป็นหลัก