เดอะ เพลเยอร์ส แชมเปี้ยนชิพ บททดสอบที่แท้จริงแห่งเกมกอล์ฟ

เดอะ เพลเยอร์ส แชมเปี้ยนชิพ บททดสอบที่แท้จริงแห่งเกมกอล์ฟ

10 มีนาคม 2566 – เดือนมีนาคมเป็นช่วงเวลาที่กีฬาฤดูหนาวยังครองเวที แต่สำหรับกีฬากอล์ฟมีแข่งขันตลอดทุกฤดูกาล และไม่มีรายการไหนโดดเด่นเกินกว่า “เดอะ เพลเยอร์ส แชมเปี้ยนชิพ” เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางเดือนมีนาคม โดยนอกจากเป็นรายการโชว์เคสของพีจีเอทัวร์แล้ว รายนี้ยังเป็นเวทีรวมตัวของนักกอล์ฟที่ดีที่สุดในโลกและถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างไม่เป็นทางการของรายการระดับเมเจอร์ในวงการกอล์ฟชาย 

ก่อนถึงรายการเดอะ เพลเยอร์ส แชมเปียนชิพ ทุกทัวร์นาเมนท์ที่ผ่านมาล้วนมีความพิเศษในตัวเช่นกันเริ่มจากที่ฮาวาย เกาะสวรรค์ มาจนถึงสนามกอล์ฟแห่งประวัติศาสตร์ในแคลิฟอร์เนีย (เพบเบิลบีช, ริเวร่า, ทอร์เรย์ ไพน์ส) แต่เมื่อเข้าสู่การแข่งขันที่ฟลอริดา ทุกสายตาจับจ้องมาที่สนามทีพีซี ซอว์กราส เมื่อบรรดานักกอล์ฟชั้นนำของโลกต่างร่วมชิงชัยในรายการนี้

ข่าวดีสำหรับแฟนกีฬากอล์ฟคือจะได้เห็นนักกอล์ฟใน 10 อันดับแรกของโลกร่วมประชันวงสวิงในสัปดาห์นี้ แต่อาจมีข่าวร้ายสำหรับบรรดาโปรกอล์ฟชั้นนำเช่นกัน เพราะสนามทีพีซี ซอว์กราส ขึ้นชื่อเป็นสนามจอมดราม่าสำหรับเหล่าโปรกอล์ฟมือท็อป 10 ของโลกในอดีตที่ผ่านมา ที่มีประวัติศาสตร์ให้เล่าขานไม่รู้จบ

หลักฐานพิสูจน์ที่เห็นได้ชัด ย้อนกลับในช่วงรุ่งโรจน์ของ เออร์นี่ เอลส์ แชมป์เมเจอร์ 4 รายการและครองมือ 1 ของโลก ยอดโปรกอล์ฟจากแอฟริกาใต้ยอมรับว่ามีปัญหากับการเล่นที่สนามแห่งนี้

"ผมเล่นที่สนามแห่งนี้ไม่ดีเท่าไหร่ สนามนี้เหมือนไปคนละทางกับสไตล์การเล่นของผม" เออร์นี่ เอลส์ กล่าว

สนามทีพีซี ซอว์กราส สร้างความยากลำบากกับเออร์นี่ เอลส์ มากแค่ไหน? เขาไม่เคยชนะที่สนามแห่งนี้เลยและจบใน 10 อันดับแรกเพียง 4 ครั้งในการออกสตาร์ท 24 ครั้ง เขาประเดิมตีรอบแรกในการเล่นอาชีพที่สนามนี้ด้วยสกอร์ 73 แต่ค่าเฉลี่ยคือ 74.164

แต่เออร์นี่ เอลส์ ไม่ใช่นักกอล์ฟคนเดียวที่ประสบปัญหากับการเล่นที่สนามทีพีซี ซอว์กราส บรรดานักกอล์ฟชั้นนำของโลกใน 10 อันดับแรกที่อยู่ในช่วงพีคของอาชีพ ล้วนประสบปัญหาเช่นกัน เมื่อพิจารณาจากตัวเลขต่อไปนี้

โดยทั้งเออร์นี่ เอลส์, วีเจย์ ซิงห์, ฟิล มิกเคลสัน, จิม ฟิวริก และรีทีฟ กูเซ่น ลงเล่นในรายการเดอะ เพลเยอร์ส แชมเปี้ยนชิพ รวมกันทั้งหมด 116 ครั้ง และคว้าแชมป์เพียงหนเดียว (ฟิล มิกเคลสัน ปี 2007) นักกอล์ฟกลุ่มนี้ชนะเลิศรายการเมเจอร์ เดอะ มาสเตอร์ส 4, ดิ โอเพ่น แชมเปี้ยนชิพ 3, ยูเอส โอเพ่น 5 และพีจีเอ แชมเปี้ยนชิพ 3 รวมแล้ว 15 แชมป์เมเจอร์ แต่เมื่อเจอความท้าทายของสนามทีพีซี ซอว์กราส พวกเขาเหมือนถูกมัดมือทำให้โชว์ฟอร์มไม่ออก

เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

เออร์นี่ เอลส์ ใช้เวลาหนึ่งปีในการค้นหาเหตุผลเพื่ออธิบายเรื่องนี้และยอมรับได้กับความจริงที่ว่า เป็นเพราะลมที่ฟลอริดาและเลย์เอาท์สนามที่สุดท้าทายจากผลงานการออกแบบของพีท ดาย
โปรกอล์ฟดีกรีแชมป์ดิ โอเพ่น 2 สมัย กล่าวว่า “ลิงก์สคอร์ส ออกแบบสำหรับลมแรง คุณสามารถเล่นลูกบอลบนพื้นสนามและตีช็อตต่างๆได้ทุกรูปแบบ สิ่งที่อันตรายของสนามนี้คืออุปสรรคน้ำ โดยเฉพาะไอส์แลนด์กรีน หรือกรีนเกาะกลางน้ำหลุม 17 "

ด้านฟิล มิกเคลสัน แม้มีหนึ่งสัปดาห์ที่น่าจดจำที่สนามทีพีซี ซอว์กราส แต่เขาไม่ผ่านการตัดตัวถึง 10 ครั้งจากการลงเล่น 27 ครั้ง เห็นได้ชัดว่ามิกเคลสัน โชว์ฟอร์มเก่งไม่ค่อยออกที่สนามนี้ แต่ต้องให้เครดิตที่เขาไม่เคยค้นหาข้อแก้ตัว

เมื่อบรรดาโปรกอล์ฟชั้นนำของโลกกลุ่มดังกล่าวก้าวขึ้นไปสู่การแข่งขันอีกระดับ โอกาสก็เปิดกว้างสำหรับนักกอล์ฟรุ่นต่อมา แต่ปรากฎว่า พวกเขาก็เจอปัญหาในเชิงปริมาณตัวเลขที่ทีพีซี ซอว์กราส เช่นกัน

เรากำลังพูดถึง 8 นักกอล์ฟใน 10 อันดับแรกของโลกคนปัจจุบัน ได้แก่ รอรี่ แม็คอิลรอย, สกอตตี้ เชฟเฟลอร์, จอน ราห์ม, แพตทริก แคนท์เลย์, ซานเดอร์ ชาฟเฟเล่, โคริ โมริกาว่า, วิล ซาลาตอริส และแม็ตต์ ฟิตซ์แพตทริก โดยทั้งแปดคนลงเล่นในรายการเดอะ เพลเยอร์ส แชมเปี้ยนชิพ รวมกัน 36 คว้าแชมป์เพียงครั้งเดียว (แม็คอิลรอย ปี 2019) ไม่ผ่านการตัดตัว 16 ครั้งและทำผลงานจบใน 10 อันดับแรกเพียง 8 ครั้ง

เรายกเว้น จัสติน โธมัส มือ 9 ของโลกเพราะในการลงเล่นเพียง 7 ครั้ง เขาคว้าแชมป์ 1 ครั้ง จบใน 10 อันดับแรกอีก 1 รวมทั้งผ่านตัดตัวทุกครั้ง เราเลือกแม็คอิลรอยแม้ว่าเขาได้แชมป์ แต่ไม่ผ่านการตัดตัวถึง 5 ครั้งจากการลงเล่น 12 ครั้ง

หากจะเจาะจงไปที่ จอร์แดน สปีธ ในฐานะโปสเตอร์บอย เพราะไม่ผ่านตัดตัวที่ทีพีซี ซอว์กราส 5 ครั้ง จากการลงเล่น 8 ครั้ง น่าจะพอไขปริศนาและอธิบายถึงชื่อเสียงของสนามทีพีซี ซอว์กราส ว่ามีความเป็นประชาธิปไตย เป็นสนามที่ไม่ฝักไฝ่หรือสนับสนุนสไตล์การเล่นของนักกอล์ฟคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะนักกอล์ฟทุกคนที่คว้าชัยชนะในสนามแห่งนี้มีสไตล์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น :

- นักกอล์ฟจอมพลังอย่าง ไทเกอร์ วูดส์,เดวิด เลิฟ เดอะ เธิร์ด และเฟร็ด คัพเพิลส์ ต่างเคยคว้าแชมป์ที่สนามแห่งนี้

- โปรกอล์ฟพลังหนุ่มสมัยเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง อดัม สกอตต์, เจสัน เดย์ และจัสติน โธมัส เป็นต้น

- ดาวดังจากยุโรป สตีฟ เอลคิงตัน, เซอร์จิโอ การ์เซีย, เฮนริก สเตนสัน และมาร์ติน คายเมอร์

- นักกอล์ฟที่อาศัยเทคนิคและความแม่นยำ อย่างเช่น ฮัล ซัตตั้น, เค.เจ.ชอย, ริคกี้ ฟาวเลอร์ และเว็บบ์ ซิมป์สัน

- เซียนลูกสั้นใจใหญ่อย่าง แม็ตต์ คูชาร์, ทิม คลาร์ก และเฟร็ด ฟังก์

สำหรับ เออร์ เอลส์ โปรกอล์ฟจากแอฟริกาใต้ ยอมรับว่าสนามไม่เข้าทางสไตล์การเล่นของเขา แต่คิดเสมอว่าสามารถคว้าชัยชนะได้ เชื่อว่าเขาทำได้ และต้องการเอาชนะนักกอล์ฟดีที่สุดในเวทีแห่งนี้ แต่ต้องเล่นอย่างชาญฉลาดที่ทีพีซี ซอว์กราส จะผิดพลาดไม่ได้ การเล่นทุกช็อตต้องมีเป้าหมายชัดเจน โดยระบุว่า “คุณต้องวาดภาพในหัวอย่างดุดันแล้วเล่นช็อตที่ปลอดภัย"

ส่วน ไทเกอร์ วูดส์ เมื่อครั้งคว้าแชมป์เดอะ เพลเยอร์ส แชมเปี้ยนชิพ ในปี 2001 เขาชนะเลิศรายการเมเจอร์มาแล้ว 4 รายการในวัย 25 ปี และอีกไม่กี่สัปดาห์ก็จะเข้าสู่การแข่งขัน มาสเตอร์ส ซึ่งสื่อต่างฟันธงว่าไทเกอร์ โฟกัสไปที่การคว้ากรีน แจ็กเก็ต ตัวที่สองเท่านั้น แต่เขายืนยันสื่อคิดผิด พร้อมย้ำว่าการชนะที่ทีพีซี ซอว์กราส คือสิ่งสำคัญที่สุดในใจของเขา

หลายคนสงสัยที่ ไทเกอร์ วูดส์ ไม่สามารถคว้าแชมป์ที่ทีพีซี ซอว์กราส หลังจากลงเล่น 4 ครั้ง และลงความเห็นว่าน่าจะเป็นเพราะไทเกอร์ ไม่ชอบหลุมด็อกเลกสั้น แต่ไทเกอร์บอกว่าเขาทำได้ดีขึ้นในทุกๆปี โดยจบอันดับ 31 ร่วม ในการประเดิมครั้งแรกในปี 1997 ตามด้วยอันดับ 35 ร่วมในปีต่อมา จากนั้นได้อันดับ 10 ร่วม และอันดับสอง

“ทีพีซี ซอว์กราส เป็นสนามกอล์ฟที่สนใจมาก หากคุณตีไม่ดี” ไทเกอร์ วูดส์ กล่าว ซึ่งแปลได้ว่า “หากคุณตีดี ก็สามารถคว้าชัยชนะได้”

ทั้งนี้ในปี 2001 ซึ่งเป็นการร่วมแข่งขันครั้งที่ 5 ไทเกอร์ วูดส์ คว้าแชมป์ เดอะ เพลเยอร์ส แชมเปี้ยนชิพ มาครองได้สำเร็จ แม้ว่าเจอความท้าทายของสนาม
(ภาพ: Getty Images)





Mediathailand.Report

ติดต่อทำข่าว งานแถลงข่าว เชิญร่วมงาน , ข่าวประชาสัมพันธ์ , รีวิว โฆษณา ฯลฯ Admin: สื่อมวลชนคนทำข่าว , เพจ Mediathailand.report , Website : www.mediathailand.report , Youtube : MDT Channel ,https://www.tiktok.com/@mediathailand.report ,https://twitter.com/a_jaipiam ได้ที่ Email : pintorichplus@gmail.com

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า